(No. 3,437 of visitors)
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ผศ.พญ.พิริยา นฤขัตรพิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานเปิด การประชุมวิชาการธาลัสซีเมีย ภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 20 เรื่อง "Beta thalassemia / hemoglobin E Disease" โดยมี รศ.นพ.พีระพล วอง หัวหน้าศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม CC2-802 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การจัดการประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.นพ.ถวัลย์วงค์ รัตนสิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ผศ.พญ.พิริยา นฤขัตรพิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พญ.กัญจน์พรรณ สุคนธ์พันธุ์ กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช รศ.นพ.พีระพล วอง หัวหน้าศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผศ.นพ.รวิสุต เดียวอิศเรศ ผศ.นพ.เอกอมร เทพพรหม อาจารย์แพทย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาบรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิด Beta thalassemia / hemoglobin E Disease มีอาการแตกต่างกันตั้งแต่การมีโลหิตจางเพียงเล็กน้อยจนถึงการมีโลหิตจางมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติของยีน (genotype) อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันนั้นอาจแตกต่างกันได้แม้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของยีนแบบเดียวกัน จึงทำให้การรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียมีความละเอียดอ่อน จำเป็นที่แพทย์ พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี่จึงจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการคัดกรอง(screening) การวินิจฉัย (diagnosis) การรักษา (treatment) การติดตาม (follow up) ข้อมูลของห้องปฏิบัติการรวมถึงการถอดบทเรียนการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อค้นหาปัจจัยต่างๆที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ และให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อไป