การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสาคัญที่หลายคู่สมรสมองข้าม ส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ตระหนักว่าถ้าตั้งครรภ์ขึ้นมา อาจจะมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก โดยเฉพาะในสตรีที่มีโรคประจาตัวทางอายุรกรรมบางอย่าง และอีกส่วน หนึ่งเป็นเพราะสตรีที่มีโรคประจำตัวเหล่านั้นไม่ได้รับคำแนะนาที่เหมาะสมว่าควรคุมกำเนิดอย่างไร และโรคต่างๆ นั้นควบคุมได้ดี เพียงพอที่จะให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ตลอดจนยาที่ใช้รักษาโรคทางอายุรกรรมนั้นๆ อาจจะส่งผลทาให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิด และมีการเจริญเติบโตในครรภ์ที่ผิดปกติได้
โรคทางอายุรกรรมที่สำคัญที่ควรต้องได้รับการประเมินก่อนการตั้งครรภ์จากอายุรแพทย์และสูติแพทย์ได้แก่
1. โรคเบาหวาน ในสตรีที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะรักษาด้วยยากินหรือยาฉีดอินซูลินจะต้องควบคุมระดับ น้ำตาลได้ดีก่อนการตั้งครรภ์ ควรตรวจการทำงานของไต จอประสาทตา หัวใจและหลอดเลือดก่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์จะส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ยากมากขึ้น ถ้ายังควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนก าหนด และทารกเสียชีวิตในครรภ์
2.โรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจการทำงานของไต หัวใจและหลอดเลือดก่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ยาที่ใช้รักษาความ ดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์บางตัว ทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้นอายุรแพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยาลดความดัน ในผู้ป่วยบางรายที่ต้องการวางแผนจะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในภาวะที่ความดันโลหิตสูงยังควบคุมได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ เส้นเลือดในสมองแตก รกลอกตัวก่อนกำหนด เพิ่มอัตราการตายของมารดา ส่วนทารกจะมีความ เสี่ยงต่อภาวะทารกโตช้าในครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด
3. โรคภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อตนเองหรือโรคทางเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น Systemic lupus erythematous (SLE) ผู้ป่วยที่ วางแผนจะตั้งครรภ์ควรต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือความดันโลหิตสูง และโรคจะต้องอยู่ในระยะสงบไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะตั้งครรภ์ได้ เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้นและควบคุมโรคได้ยากขึ้น ในระหว่างการ ตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลเลือดและความผิดปกติของไตอย่างสม่ำเสมอ การตั้งครรภ์ในขณะที่โรคยังไม่ สงบจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด
4. โรคไทรอยด์เป็นพิษ การรักษามีหลายวิธี เช่น การกินยา การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ยาที่ใช้รักษาโรคไทรอยด์ก่อนตั้งครรภ์บาง ตัว ทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดได้ ส่วนสตรีที่รักษาด้วยวิธีการกลืนแร่รังสี ควรคุมกำเนิดไปก่อนอย่างน้อย 6 เดือน ผลการตรวจเลือดดูค่าการทำงานของไทรอยด์และอาการของโรคควรต้องอยู่ในระยะสงบอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะสามารถ ตั้งครรภ์ได้ การตั้งครรภ์ในขณะที่โรคยังไม่สงบจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไทรอยด์เป็นพิษรุนแรง (thyroid storm) ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ซึ่งจะเพิ่มอัตราการตายของมารดา ส่วนทารกจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด
5. โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจผิดปกติแต่ก าเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจโต ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนว่าสามารถตั้งครรภ์ได้ หรือไม่ เพราะบางภาวะถ้าตั้งครรภ์ มารดามีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 สำหรับยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนตั้งครรภ์บางตัว ทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดได้เช่น warfarin ในสตรีที่มีโรคหัวใจเหล่านี้ถ้า ตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด เพิ่มอัตราการตาย ส่วนทารกจะเพิ่มความเสี่ยง ต่อภาวะทารกโตช้าในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด และถ้ามารดาเป็นโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ทารกจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดมากขึ้น
6. การปรึกษาอายุรแพทย์และสูติแพทย์เพื่อวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ในสตรีกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะถ้ายัง ไม่เหมาะสมที่จะตั้งครรภ์ ทางสูติแพทย์จะแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมต่อโรคแต่ละโรคให้สตรีเหล่านี้ และถ้าตั้งครรภ์ขึ้น แล้วสตรีเหล่านี้ควรต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์เสี่ยงสูง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการตั้งครรภ์ที่มี คุณภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารก
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
|