เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 วลา 08.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการอบรม “เติมไฟ ใส่ปุ๋ย” ณ ห้อง cc2-801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การจัดโครงการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ อาจารย์แพทย์ และนิสิตแพทย์ กว่า ๓๐๐ คน โดยรับเกียรติจาก คุณศุ บุญเลี้ยง ศิลปิน นักคิด นักเขียน มาถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร มุ่งเน้นที่จะให้การอบรมมีทัศนคติที่ดีมีแรงบันดาลใจในการทำงาน มีการทำงานเป็นทีมและมีการสื่อสารที่เป็นเลิศ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการพัฒนาบุคลากร อันนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2559 เวลา 18.00 น. ณ ภัทธารา รีสอร์ท แอนด์สปา ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน “พูดพร่ำ ฮัมเพลง” ซึ่งเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เสริมสร้างแรงบันดาลใจและบทเพลงเพราะๆจาก คุณศุ บุญเลี้ยง นอกจากนี้มีการพบปะพูดคุยในกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์แพทย์ และได้มีการมอบนโยบายเบื้องต้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 23 ปี คณะแพทยศาสตร์ กับภารกิจ 23 ข้อ โดยแยกเป็น ๕ส่วน คือ
ด้านกายภาพ
- จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพคณะ ให้สามารถแสดงภาพลักษณ์ผ่านเรื่องราวเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรสู่สาธารณชน เช่น พื้นที่หน้าห้องเรียนชั้น8 /ห้องประชุมชั้น4 อาคารเรียน ห้องประชุมเอกาทศรถทั้งหมด โดยเน้นรูปแบบแบบที่ทำให้สะดุดตา ให้แสดงเรื่องราวของคณะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์และสร้างแรงบันดาลใจแก่ นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไปได้อย่างต่อเนื่อง
- ปรับสลับเส้นทางเข้าออก รพ. และทำทางเดินเป็น Hall ยาวตลอดทะลุไปถึงตึกเรียน ให้เกิดบรรยากาศที่สงบ ร่มรื่น สวยงาม โปร่งโล่งและทันสมัย
- บริหารจัดการพื้นที่จอดรถด้านหน้ามหาวิทยาลัย เร่งรัดสวัสดิการด้าน สนามกีฬา Fitness พื้นที่จำหน่ายอาหาร ให้ได้คุณภาพและพอเพียงต่อการให้บริการ
- ปรับปรุงห้องสมุดคณะ(ชั้น2) ให้ทันสมัยและupdateอยู่เสมอ รวมถึงจัดการ แหล่งความรู้ online 4ฐานที่ดำเนินการโดยคณะให้มีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงพื้นที่ อาคารคณะแพทย์เก่า เป็น small group learning room ที่ทันสมัย และจัดการ 236-237
ซึ่งเป็นส่วนรับผิดชอบของคณะ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์หน้ารพ. ให้เป็นระบบ Digital เพิ่มขนาดและติดLogoใหม่ ขนาดใหญ่ ไว้ด้านบน เน้นการสื่อสารที่จะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ผ่านไปมา ทั้งในส่วน Events และ ผลงานของคณะ/รพ.
- จัดสถานที่ทำงานและสวัสดิการให้เกิดความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สำคัญมีระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัยทุกด้าน ลดความเสี่ยงในทุกมิติ โดยเฉพาะที่มาจากการทำงาน
ด้านการเรียนการสอน
- จัดการเรียนการสอนที่มีแนวโน้มสู่ความเป็น Inter-Professional Education ( IPE) / Multi-disciplinary และ Transformative Learning ( TL ) ในหลักสูตร พ.บ. และ post-graduate ทั้งหมด
- การปรับปรุงการรับเข้านักเรียนในโครงการต่างๆ ของหลักสูตร พ.บ. ให้ได้คนเก่งคนดี เข้ามาเรียน และเพิ่มสัดส่วนนิสิตสอบผ่าน National License ( NL )
- การรับ นิสิตหลักสูตร ป.โท Ed.และการอบรมระยะสั้นในหลากหลายสาขา โดยให้วางแผนล่วงหน้าทั้งปี
- จัดระบบพัฒนาภาษาอังกฤษแบบเปลี่ยนบรรยากาศ(Atmosphere)ทุกคน ทุกระดับ ทั่วทั้งองค์กร โดยเน้นความเหมาะสมกับระดับของบุคลากรและการใช้งานจริง
ด้านบริหารจัดการ
- ทีมบริหาร จัดตารางเยี่ยมหน่วยงาน ทั้งในและนอกคณะ รวมถึงให้มีการสื่อสารที่มากขึ้นระหว่าง คณบดี รองและผช.คณบดี หัวหน้าภาค รอง ผอ.รพ. หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย ตลอดปี59-60
- จัดการระบบดูแลผู้ป่วย และระบบส่งต่อผู้ป่วย( referral systems )ของทุกภาควิชาและศูนย์ความเป็นเลิศ ด้วยความร่วมมือกับเขตสุขภาพ กสธ. ทั้งเขต 2 และ 3 และตามระบบ Catchment area ของ รพ.มน.
- จัดทำแผนกลยุทธ์และaction plan ปี งปม.60 ล้อกับแผน10ปี มหาวิทยาลัยและทำแผนร่วมกับภาควิชา
- จัดทำแผนกำลังคนระยะสั้น 2 ปี / กลาง 4 ปี / ยาว 6ปี เพื่อให้สามารถจัดวางทิศทางการทำงานสู่วิสัยทัศน์ได้
- มาตรการประหยัดพลังงาน + ลดต้นทุน ตลอดปี59-60 โดยให้มีมาตรการที่ชัดเจนป็นเรื่องๆ ไป
- ตั้งทีมเพื่อวิเคราะห์ ข้อมูลในช่วง 4ปี(56-57-58-59)ใน 2เรื่อง )การให้บริการด้านสุขภาพและ2.)การให้บริการด้านการศึกษา(ให้แสดงผลลัพธ์การดำเนินการก่อน แล้ววิเคราะห์ข้อเท็จจริงร่วมกันทั้งเหตุที่เกิดและทำให้เกิดผลขึ้น)
- จัดการระบบตรวจสอบบัญชีมูลนิธิ รพ.มน. โดยผู้สอบบัญชีที่มีใบอนุญาต เพื่อสามารถออกใบเสร็จของมูลนิธิเองได้ และขยายขอบเขตการดำเนินงานให้กว้างขวางขึ้น
- สร้างความรัก ความสามัคคี ( Unity ) ให้เกิดขึ้นให้ได้ ทั้งในนิสิต บุคลากร รวมถึงเครือข่ายร่วมผลิต อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาศัยการสร้างเครือข่ายผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Telemedicine
ด้านการประชาสัมพันธ์
- การออกหน่วยบริการสัญจร รวมทุกหน่วยงานและสาขา โดยลงพื้นที่ชุมชนครั้งใหญ่ 2-3 ครั้ง เพื่อนำผลงานออกสู่ภายนอกคณะ ในนามคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และ มูลนิธิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อรับใช้และสร้างการรับรู้ที่ดีต่อชุมชน
ด้านคุณภาพ วิจัย และจิตอาสา
- ระดมสมอง ระดมกำลัง เพื่อรับการประเมิน EdPEx WFME and Advanced HA โดยมีเป้าหมายคือ “ผ่าน”
- กระตุ้นงานวิจัยและตำแหน่งทางวิชาการ และ ตำแหน่งสายสนับสนุนของอาจารย์แพทย์และบุคลากร ด้วยกลยุทธ์เชิงรุกทุกรูปแบบ
- พัฒนาโครงการจิตอาสาในคณะและ รพ.อย่างจริงจัง เพราะเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนและเกิดความเชื่อถีอศรัทธา ผูกพันธ์ยั่งยืนกับคณะ เป็นเกียรติยศชื่อเสียง คณะ ต่อไป