พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2



         วันนี้ 12 มีนาคม 2562 (เวลา 08.30 น.) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้าโครงการ การพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มวัย ในเขตสุขภาพที่ 2 เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมนำเสนอแผนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ และลงนามบันทึกข้อตกลงการดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ โครงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยในเขตสุขภาพที่ 2 ณ ห้องประชุม 301 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีนายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สาธารณสุขอำเภอ 47 อำเภอ จาก 5 จังหวัด เข้าร่วมการประชุมกว่า 150 คน

    สำหรับโครงการ การพัฒนารูปแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มวัย ในเขตสุขภาพที่ 2 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.2560 ถึง 19 มิ.ย.2563 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

    ระยะที่ 1 ทำการศึกษาทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ DHS ของประเทศไทยและนานาชาติ จากนั้นสร้างเกณฑ์การ

    ประเมินโดยการมีส่วนร่วมของพื้นที่  รวมทั้งลงประเมินทั้ง 47 อำเภอ 5 จังหวัด

    ระยะที่ 2 นำสิ่งที่ได้จากระยะที่ 1 มาวางแผนและดำเนินการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด

    ระยะที่ 3 รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและถอดบทเรียน เพื่อสร้างต้นแบบระบบสุขภาพอำเภอที่พึงประสงค์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มวัย

         ขณะนี้ดำเนินโครงการมาแล้ว  1 ปี 9 เดือน สามารถดำเนินการไปตามแผนการครบถ้วน  กระทั่งมาถึงขั้นตอนที่สำคัญในวันนี้ คือ การจัดทำแผนพัฒนารายอำเภอทั้ง 47 อำเภอ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก ซึ่งแต่ละจังหวัดมี 9 อำเภอ และ จังหวัดเพชรบูรณ์มี 11 อำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 2 ซึ่งผลการดำเนินการก่อนหน้านี้ คือมีการลงสำรวจและประเมินครบทุกอำเภอ โดยมีคู่มือเกณฑ์ประเมินที่สร้างขึ้นใหม่จากการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ทั้งนี้มีคณะทำงานที่ลงประเมิน ประกอบด้วยบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยนเรศวร  จนได้ข้อมูลเชิงประจักษ์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพครบถ้วน   นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้สร้างโปรแกรมเฉพาะที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูลการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอขึ้นเองอีกด้วย

    ณ วันนี้ประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอที่สามารถนำมาใช้สำหรับแต่ละอำเภอ เพื่อเป็นแนวทางมาประยุกต์ใช้ได้  เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ต้นแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอร่วมกัน

     

    ถ่ายภาพโดย : งานประชาสัมพันธ์   คณะแพทยศาสตร์ ,  งานโสตทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีการศึกษา  คณะแพทยศาสตร์


    เพิ่มข้อมูลเมื่อ : 12/03/2019 16:27 น.